ประโยชน์

ประโยชน์ของกีฬาปิงปอง

กีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้นั้น ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งพื้นที่บนฝั่งตรงข้ามมีเพียง พื้นที่ แค่ 4.5 ฟุต X 5 ฟุตเท่านั้น และลูกปิงปองยังมีความเบามาก เพียง 2.7 กรัม เท่านั้น และความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ยังใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาทีอีกต่างหาก แถมลูกปิงปองที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ยังมีความหมุนรอบตัวเองอีกด้วย ซึ่งลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเรานั้น เราจะต้องตีกลับไปอีกด้วย เพราะไม่ตี หรือ ตีไม่ได้ ก็หมายถึงการเสียคะแนนทันที
แต่ในความยากนั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับผู้เล่นเหมือนกัน เพราะ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายร่วมกันทั้งหมด ซึ่งส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ มีดังนี้


1. สายตา สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การจ้องลูกอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจะต้องจ้องมองและสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้อีกด้วยว่า ตีลูกความหมุนลักษณะใดมาหาเรา


2. สมอง ปิงปอง เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นอีกด้วย


3. มือ มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่วและว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้


4. ข้อมือ ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะมีความหมุนมากยิ่งขึ้น


5. แขน ต้องมีพลกำลังและมีความอดทนในการฝึกซ้อมที่ต้องซ้อมแบบซ้ำและซ้ำอีก


6. ลำตัว การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ  ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย


7. ต้นขา แน่นอนว่าเมื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูง ต้นขาจึงต้องแข็งแรง และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา


8. หัวเข่า ต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่


9. เท้า ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปองตลอดเวลา หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ไม่มีฟุตเวิร์ด และตามตีลูกปิงปองไม่ทัน
จะเห็นได้ว่า กีฬาเทเบิลเทนนิสจะใช้ทุกส่วนของร่างกายในการเล่น เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีความรวดเร็วนั่นเอง และยังไม่รวมถึงจิตใจที่จะต้องมีความเข้มแข็ง อดทน ทั้งในการฝึกซ้อม และ จิตใจที่จะต้องเป็นนักสู้เมื่อลงทำการแข่งขัน เพราะเป็นกีฬาประเภทบุคคลที่จะต้องพึ่งความสามารถของตนเองมากกว่าที่จะต้องอาศัยเพื่อนร่วมทีม ดังเช่นกับกีฬาประเภททีมอื่นๆ
สำหรับสิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ที่จะได้รับติดตามมาก็คือ การมีจิตใจและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย , การได้มีโอกาสมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาในการเข้าศึกษาในสถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ หรือ หากได้มีโอกาสรับใช้ชาติได้ ก็จะเป็นเกียรติต่อทั้งวงศ์ตระกูลรวมทั้งประโยชน์ต่อตนเอง ทั้งชื่อเสียง , ประสบการณ์ในการเดินทางไปแข่งขันในดินแดนต่างๆ หรือ อาจจะสามารถประกอบเป็นอาชีพในประเทศที่มีการเล่นกีฬาปิงปองเป็นอาชีพได้
ครับ… ในเมื่อการเล่นกีฬาประเภทนี้ สามารถให้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายขนาดนี้แล้ว หันมาเล่นกีฬาประเภทนี้กันให้มากๆ เถอะครับ นี่ยังไม่รวมถึงเป็นกีฬาที่ไม่มีการปะทะกัน การบาดเจ็บจากการเล่นมีน้อย และยังสามารถเล่นได้ต้องแต่อายุยังน้อยจนถึงอายุ 50 , 60 และ 70 ปี ก็ยังมีคนเล่นนะครับ

ขอบคุณที่มาจาก

http://www.thaitabletennis.com/wizContent.asp?wizConID=108

Posted in ประโยชน์, Uncategorized | Leave a comment

เทคนิกการตีลูกต่างๆ

ความรู้เกี่ยววกับการฝึกปิงปอง

การฝึกปิงปองระดับแข่งขัน

การจะก้าวเข้าสู่การเป็นนักกีฬาระดับแข่งขันนั้น สิ่งใดในเกมส์การแข่งขันที่จะต้องเน้นฝึกซ้อมเป็นพิเศษบ้าง?

1.  การเสริฟ  ( Serve )

2.  การรับลูกเสริฟ  (  Return of Service )

3.  การวางลูก  ( Tactics )

4.  การบุก  (  Offensive )

5.  การบล๊อก ( Block )

6.  การโจมตีกลับ  (  Counter Attack )

เมื่อเราทราบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อมแล้ว  ต่อไปในการฝึกซ้อมจึงควรจะต้องมีเป้าหมายในการฝึกซ้อมเน้นให้ตรงกับ  6  หัวข้อนี้  เพื่อจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาไปในการฝึกซ้อมในสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่ได้นำไปใช้ในการแข่งขัน

แต่…  ก่อนที่นักกีฬาจะฝึกซ้อมแบบเน้นเพื่อการเข้าสู่การแข่งขันนี้   นักกีฬาจะต้องมีเบสิคพื้นฐานในการตีลูกทุกความหมุน ทุกจังหวะ ให้ชำนาญและมีประสิทธิภาพเสียก่อน   อย่าพึ่งรีบข้ามขั้นตอน  เพราะในกีฬาปิงปองนั้น เบสิคพื้นฐานที่ถูกต้อง มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเล่นในระดับสูง   ดังนั้นจึงต้องรอให้เบสิคพื้นฐานการเล่นแน่นเสียก่อนและเมื่อฝึกซ้อมเพื่อเข้าสู่การแข่งขันจะมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถที่จะพัฒนาได้ดียิ่งๆ ขึ้นตลอดไป

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในกีฬาปิงปองนั้น  นักกีฬาที่มีฝีมือสูงๆ นั้น จะคงรักษาสภาพการเล่นของตนเองได้ตลอดไป ทั้งๆ ที่อายุจะมากแล้ว ฝีมือการเล่นก็จะยังอยู่ในระดับสูง เช่น Jan Ove Waldner , Jorgen Persson นักกีฬาทีมชาติสวีเดน ถึงแม้อายุจะมากแล้ว แต่ก็ยังมีผลงานจากการแข่งขันอยู่   แต่ในทางกลับกัน หากนักกีฬาที่พื้นฐานยังไม่แน่น แต่ฝึกแบบข้ามขั้นตอนมา  ฝีมือการเล่นก็จะไม่คงที่คงวา เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง ไม่แน่นอน  รวมถึงเมื่อจะพัฒนาฝีมือก็จะพัฒนาได้ยากกว่าผู้เล่นที่มีพื้นฐานเบสิคแน่น ทำให้เกิดปัญหาจะต้องกลับไปฝึกเบสิคขั้นพื้นฐานมาใหม่ ซึ่งเป็นการเสียเวลาและจะทำเกิดความท้อแท้และเลิกเล่นไปในที่สุด เพราะฝึกเท่าไหร่ก็ไม่พัฒนานั่นเอง

แผนภาพการฝึกปิงปองทุกระดับ

กีฬาปิงปองมีขั้นตอนการฝึกซ้อมตั้งแต่เริ่มเล่นจนถึงฝึกเข้าสู่ระดับแข่งขัน มีขั้นตอนในแต่ละระดับอย่างไรบ้าง ?
หลักการฝีกซ้อมเบื้องต้น

การฝึกปิงปองนั้น ต้องฝึกแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่าพยายามเรียนลัดด้วยการฝีกข้ามขั้นตอน

  การฝึกซ้อม คือ การพัฒนาการเล่นกีฬาอย่างยั่งยืน

การฝึกปิงปองนั้น  ต้องฝึกแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป  อย่าพยายามเรียนลัดด้วยการฝีกข้ามขั้นตอน   เพราะการจะพัฒนาให้ขึ้นไปอยู่ในระดับสูงให้ได้นั้น  พื้นฐานหรือทักษะการเล่นลูกต่างๆ จะต้องแน่นและชำนาญเสียก่อน  หากพื้นฐานไม่ดี ย่อมส่งผลถึงการฝึกในระดับที่สูงขึ้นได้  เปรียบเสมือนกับการสร้างบ้าน วิศวกรต้องเริ่มสร้างที่ฐานรากให้มั่นคงแข็งแรงเสียก่อน  เมื่อฐานรากแข็งแรงแล้วจะต่อเติมด้านบนก็ย่อมจะทำได้ และที่สำคัญบ้านหลังนั้นจะแข็งแรงไม่พังลงมาโดยง่าย  ก็เพราะฐานของบ้านแข็งแรงนั้นเอง

หลักการฝึกซ้อม

ฝึก : จากง่าย ไปหายาก

ฝึก : จากช้า ไปหาเร็ว

ฝึก : ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก  จนเกิดเป็นความชำนาญ

มีสิ่งใดบ้างที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ

สิ่งที่ต้องฝึกในการเล่นปิงปองให้มีประสิทธิภาพและจะพัฒนาฝีมือได้นั้น มีสิ่งใดบ้าง?

การฝึกการเล่นปิงปองนั้น  มีสิงที่เป็นหัวใจของการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นเกิดประสิทธิภาพ และสามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้ ดังต่อไปนี้

1. ความหมุน     2. ความเร็ว     3. ความแน่นอน     4. ความต่อเนื่อง
คำอธิบายเพิ่มเติม

1.  ความหมุน   คือ การฝึกตีลูกปิงปองให้เกินความหมุนแบบต่างๆ ซึ่งจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้ความหมุนที่มีอยู่ทั้งหมดให้ครบถ้วน  โดยฝึกตีให้ได้ทั้งความหมุนที่มากที่สุด จนถึงสามารถฝึกตีลูกให้หมุนน้อยๆ ก็ได้ด้วย

2.  ความเร็ว   คือ การฝึกตีลูกปิงปองให้เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสูง และ การฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายที่รวดเร็ว รวมถึงการฝึกการคิดและการตัดสินใจที่ต้องรวดเร็วอีกด้วย

3. ความแน่นอน  คือ การฝึกตีลูกปิงปองไปยังตำแหน่งต่างๆ บนโต๊ะของผู้ต่อสู้ได้ทุกจุดและแม่นยำ

4. ความต่อเนื่อง  คือ  การฝึกตีลูกปิงปองกลับไปให้ได้อย่างต่อเนื่อง  ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะตีมารูปแบบใดเราจะต้องตีลูกปิงปองกลับไปให้ได้

แบบฝึกการยืดกล้ามเนื้อ

ชมแบบฝึกสำหรับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ซึ่งควรจะฝึกให้เป็นนิสัยทั้งก่อนการฝึกซ้อมและทำหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง

การยืดกล้ามเนื้อก่อนฝึกซ้อมประจำวัน จะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อมัดต่างๆ มีความพร้อมในการทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ป้องกันการบาดเจ็บ และช่วยให้มุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตีปิงปองทำงานได้มากขึ้น

และเมื่อหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง ควรจะยืดกล้ามเนื้ออีกครั้งหนึ่ง (Cool down) ซึ่งจะช่วยฝ่อนคายความเครียดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างการและจิตใจกลับสู่สภาพปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ต่อไปนี้จะเป็นแบบฝึกสำหรับการยืดกล้ามเนื้อก่อนการฝึกซ้อม และการคลายกล้ามเนื้อหลังการฝึกซ้อม สำหรับ สีเขียว แสดงถึงกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ที่จะถูกกระตุ้นให้พร้อมการทำงาน
วิธีการจับไม้ปิงปอง

การจับไม้ปิงปองให้ถูกวิธี เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ผู้ฝึกสอนไม่ควรมองข้าม เราลองมาศึกษาดูว่าวิธีการจับไม้ปิงปองให้ถูกวิธีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

1. การจับไม้แบบสากล SHAKE HAND

      

โฟร์แฮนด์ (หน้ามือ)                แบ๊คแฮนด์ (หลังมือ)

การจับไม้ปิงปองวิธีนี้เป็นที่นิยมกันทั่วโลก มีวิธีการจับไม้ที่คล้ายกับการจับมือทักทายกันของชาวยุโรป สำหรับการจับไม้แบบนี้จะเหมาะสำหรับนักกีฬาที่ถนัดทั้งในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ Fore hand (หน้ามือ) และ ด้านแบ๊คแฮนด์ Back hand (หลังมือ) การจับไม้แบบสากลนี้จะเหมาะสำหรับการเล่นลูกต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะลูก TOP SPIN , BACK SPIN , SIDE SPIN ซึ่งการตีลูกต่างๆ นั้นจะไม่ฝืนธรรมชาติเหมือนกับการจับไม้แบบไม้จีน แต่การจับไม้แบบนี้มักจะมีจุดอ่อนอยู่ที่กลางลำตัวเพราะเมื่อคู่ต่อสู้ตีเข้ากลางตัว หากฝึกมาไม่ดีจะทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าจะใช้ด้านใดในการตีลูก

หมายเหตุ   ในการฝึกการจับไม้ปิงปองในวีดีโอด้านบนนั้น  เป็นการแนะนำการจับไม้สำหรับผู้ที่เริ่มเล่นใหม่ให้ถูกต้องเสียก่อน   แต่เมื่อฝึกไปสักระยะ นักกีฬาอาจจะมีลักษณะการจับไม้ที่ปรับเปลี่ยนไปได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล อาจจะมีการจับไม้ในลักษณะของรูป 2 รูปสุดท้ายในวิดีโอ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องการจับไม้ที่ผิดเพียงอย่างใด  เพราะในความเป็นจริงแล้วในการแข่งขันระดับโลก เราจะเห็นนักกีฬาที่เล่นได้เก่ง มีอันดับโลกที่สูงๆ ก็มีการจับไม้มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแปลกๆ เหมือนกัน

2. การจับไม้แบบจับปากกา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จับแบบไม้จีน” CHINESE STYLE

การจับไม้แบบนี้จะเป็นที่นิยมกันมากในนักกีฬาแถบทวีปเอเซียของเรา ได้แก่ จีน , ญี่ปุ่น , เกาหลี สำหรับนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้จะถนัดในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ได้ดีเป็นพิเศษ อีกทั้งจะต้องมีการเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งชาวเอเซียเราส่วนใหญ่ตัวเล็กและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว การจับไม้แบบไม้จีน จึงเป็นที่นิยมกันแถบเอเซีย สำหรับในยุโรปแล้วมีนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้กันน้อยมาก เพราะนักกีฬายุโรปมักจะเคลื่อนที่ได้ช้า และการจับไม้แบบไม้จีนจะมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้าน Back hand เพราะไม่สามารถเล่นลูก TOP SPIN ได้สะดวก แต่ปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้คิดค้นวิธีการตีแบบใหม่ ซึ่งทำให้วิธีการจับไม้แบบไม้จีนมียุทธวิธีในการตีลูกได้รุนแรงและหลากหลายมากยิ่งขึ้น คือการใช้ด้านหลังมือตี ซึ่งอดีตที่ผ่านมาด้านนี้จะไม่ค่อยได้ใช้ในการตีลูก นักกีฬาจีนยุคใหม่จะถนัดในการเล่นลูกหลังมือนี้มากขึ้น เพราะสามารถเล่นได้ลูก TOP SPIN และ ลูกตบได้ดีอีกด้วย นับเป็นอาวุธใหม่สำหรับนักกีฬาจีนไว้ปราบนักกีฬาที่จับไม้แบบสากลโดยเฉพาะ

ท่าการเตรียมพร้อม

มาชมและศึกษาท่าเตรียมความพร้อมก่อนการรับลูกเสริฟในการเล่นกีฬาปิงปองกันครับ

ท่าการเตรียมพร้อม


 

ก่อนรับลูกเสริฟทุกครั้ง หรือก่อนจะตีลูกใดๆ ก็ตาม นักกีฬาจะต้องเตรียมท่าทางของตนเองให้พร้อมก่อนที่จะเล่นทุกครั้ง เพราะหากเรารักษาท่าทางก่อนเล่นได้ดีและถูกต้อง จะช่วยให้เราตีลูกต่างๆ ที่กำลังจะตีนั้น ได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อตีลูกไปแล้ว นักกีฬาจะต้องกลับมายังท่าเตรียมพร้อมเพื่อจะตีลูกต่อไปทุกๆ ครั้ง

สำหรับนักกีฬาที่ถนัดมือขวา ตำแหน่งที่ยืน ควรจะยืนอยู่ที่มุมด้าน BACK HAND ของตนเอง และนักกีฬาที่ถนัดมือซ้าย ตำแหน่งที่ยืนควรจะยืนที่อยู่มุมด้าน BACK HAND ของตนเอง

    

นักกีฬาถนัดมือขวา                                         นักกีฬาถนัดมือซ้าย

สำหรับการฝึกท่าการเตรียมพร้อมมีดังนี้

1. ขา

ระยะห่างระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง อย่างน้อยที่สุดควรจะห่างเท่ากับระยะห่างระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้างของตัวเรา ไม่ควรที่จะแคบกว่าระยะห่างของไหล่เรา เพราะจะทำให้ทรงตัวได้ไม่ดี เมื่อเคลื่อนที่จะทำให้เสียหลักได้ง่าย

2. ปลายเท้า

ปลายเท้าควรจะชี้ไปข้างหน้าตามธรรมชาติปกติของลักษณะเท้าของเรา ไม่ควรชี้ออกด้านข้างลำตัวหรือชี้เข้าหาลำตัว เพราะกีฬาปิงปองจะมีการเคลื่อนที่ในด้านข้างมากที่สุด และที่สำคัญน้ำหนักตัวของเราควรจะให้อยู่ที่บริเวณปลายเท้าตลอดเวลา ไม่ควรจะปล่อยให้น้ำหนักตักตกอยู่ที่ส้นเท้า เพราะจะทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า

3. เข่า

ส่วนเข่า ควรจะย่อลงเล็กน้อยพอสมควร ห้ามตึง เพราะจะทำให้การเคลื่อนที่ไม่สะดวก และไม่มีแรงส่งเมื่อต้องก้าวเท้าในระยะทางไกลๆ

4. ลำตัว

ลำตัวควรเอียงไปด้านหน้า เพื่อให้สมดุลกับน้ำหนักที่ลงที่ปลายเท้าและหัวเข่า

5. มือ

มือที่ถือไม้ปิงปองควรจะอยู่ที่กลางลำตัว ปลายไม้ชี้ไปข้างหน้า และพร้อมที่จะใช้ทั้ง 2 ด้านตีลูก หากคู่ต่อสู้ตีมาด้านใดก็ตาม และควรจะอยู่สูงกว่าโต๊ะเล็กน้อย

6. ตา

สายตามองที่หน้าไม้ของผู้ต่อสู้ , ทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้ต่อสู้ และมองลูกตั้งแต่ออกจากหน้าไม้ของคู่ต่อสู้จนมากระทบหน้าไม้ของเรา ตลอดเวลา

ตำแหน่งต่างๆ บนลูกปิงปอง

บนลูกปิงปองแบ่งตำแหน่งที่จะให้หน้าไม้สัมผัสถูกพื้นผิวลูกปิงปองออกเป็นกี่ตำแหน่ง ?

ท่านทราบหรือไม่ว่า? ลูกบอลในกีฬาอะไรที่มีขนาดเล็กที่สุดและน้ำหนักน้อยที่สุด? คำตอบก็คือ ลูกปิงปองนั่นเอง

ด้วยคุณสมบัติของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 40 มิลลิเมตร และน้ำหนักของลูกซึ่งหนักเพียง 2.7 กรัม นี้ จึงทำให้กีฬาปิงปองเป็นอีกกีฬาหนึ่งที่เล่นยากมาก ลูกปิงปองที่เราเห็นกระทบจากหน้าไม้ผู้เล่นฝ่ายหนึ่ง ไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง จะเดินทางด้วยความเร็วไม่เกิน 1 วินาที และลูกกลมๆ ที่ลอยอยู่นั้น ยังจะมีความหมุนรอบตัวเองในลักษณะต่างๆ อีกด้วย

กีฬาประเภทอื่นๆ จะมีเวลาให้เราได้ตัดสินใจในการเล่นได้นาน เช่น กีฬาสนุ๊กเกอร์ หากเรายังไม่มั่นใจก็ยังไม่ต้องเล่นได้ , กีฬาฟุตบอล , วอลเลย์บอล , บาสเกตบอล จะเล่นกันเป็นทีม แต่กีฬาปิงปองแล้วเมื่อลูกปิงปองถูกตีมายังฝ่ายเรา เราต้องตีกลับไป เพราะหากไม่ตีกลับไปเราจะเป็นฝ่ายเสียคะแนนทันที ซึ่งด้วยความเร็วของลูกที่ลอยมาจึงทำให้เวลาในการตัดสินใจมีน้อยมากหากเปรียบเทียบกับกีฬาประเภทอื่นๆ

ตำแหน่งบนลูกปิงปองเพื่อที่จะตัดสินใจในการตีลูกปิงปองกลับไปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับตำแหน่งที่สำคัญบนลูกปิงปองแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง ดังนี้

และเมื่อเราทราบตำแหน่งของลูกปิงปองแล้ว  ในการตีลูกด้วยความหมุนต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น  ก็มีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้หน้าไม้ปิงปองสัมผัสถูกลูกปิงปองบนตำแหน่งที่ถูกต้องอีกด้วย

จังหวะการกระดอนของลูกปิงปอง

แม้กระทั่งจังหวะการกระดอนของลูกปิงปองก็มีความสำคัญกับการฝึกซ้อมปิงปองอย่างถูกวิธีอีกด้วย !!!

ลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกปิงปอง

ตำแหน่ง A คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองกำลังลอยขึ้น

ตำแหน่ง B คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองลอยขึ้นสูงสุด

ตำแหน่ง C คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองกำลังลอยลง

ตำแหน่ง D คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองกำลังลอยลงต่ำกว่าโต๊ะปิงปอง

สำหรับการเลือกตำแหน่งในการตีลูกปิงปองนั้น ผู้ที่หัดเล่นปิงปองใหม่ ควรเลือกตำแหน่งที่จะตีลูกปิงปองดังนี้

ลูก Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่ง A – C

ลูก Top spin ทั้งด้าน Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่งหลังตำแหน่ง B ลงไป

ลูก Back spin (ลูกตัด) ทั้งด้าน Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่ง C

ลูก Bock ทั้งด้าน Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่ง A – B

และเมื่อเกิดความชำนาญแล้ว (ยึดหลัก ฝึกจากช้า ไปหาเร็ว)  จุดตีในแต่ละลูกควรจะเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการตีให้เร็วยิ่งขึ้น เช่น เคยตีลูก Fore hand top spin ในตำแหน่ง D ให้เปลี่ยนไปตีตำแหน่ง C และ B ตามลำดับ ฯลฯ  รวมถึงหากชำนาญมากยิ่งขึ้น  นักกีฬาจะต้องตีลูกปิงปองได้ทุกจังหวะ จะทำให้การเล่นของคุณน่ากลัวยิ่งขึ้น

ความหมุนของลูกปิงปองมีกี่แบบ

ลูกปิงปองสามารถหมุนรอบตัวเองได้ทุกทิศทางทาง 360 องศา ซึ่งสามารถแบ่งความหมุนออกเป็น 5 ความหมุน ดังนี้
ลักษณะการหมุนของลูกปิงปอง แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. TOP SPIN (หมุนไปข้างหน้า)
2. BACK SPIN (หมุนกลับหลัง)
3. SIDE SPIN (หมุนด้านข้าง )
4. MIX SPIN (หมุนแบบผสม)
5. NO SPIN (ไม่มีความหมุน)
1. TOP SPIN หรือ ลูกหมุนไปข้างหน้า
 
ลักษณะความหมุนชนิดนี้ ลูกปิงปองจะหมุนจากด้านล่างขึ้นด้านบน หากจะเปรียบเทียบจะหมุนเหมือนกับล้อรถยนต์ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ความหมุนชนิดนี้หากลูกปิงปองมากระทบหน้าไม้เรา จะมีความรู้สึกว่าลูกที่ตีไปจะสูงกว่าปกติ การบังคับหน้าไม้สำหรับตีความหมุนของลูกปิงปองชนิดนี้จึงต้องปิดหน้าไม้ตลอดเวลา
สำหรับการจะตีลูก TOP SPIN นี้ หน้าไม้จะต้องลากขึ้นจากล่างขึ้นบน หากจะให้ลูกมีความหมุนที่มีประสิทธิภาพต้องออกแรงตีให้สัมพันธ์กับการสัมผัสลูกรวมถึงตำแหน่งต่างๆ บนลูกปิงปองอีกด้วย ยิ่งหากต้องการให้ลูกมีความหมุนมากที่สุด หน้าไม้จะต้องกระทบตำแหน่งของลูกในส่วนที่ใต้ลูกที่สุด
2. BACK SPIN หรือ ลูกหมุนกลับหลัง
ความหมุนชนิดนี้ ลูกจะหมุนถอยหลัง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ลูกตัด” นั่นเอง หากจะเปรียบเทียบกับการหมุนของล้อรถ ก็เปรียบได้ขณะขับรถถอยหลัง สำหรับความหมุนชนิดนี้จะบังคับลูกปิงปองให้ตีติดเน็ตอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นการจะตีลูกที่ความหมุนชนิดนี้จะต้องเปิดหน้าไม้ตีกลับไป
สำหรับการจะตีลูก BACK SPIN หรือ ลูกตัด ให้มีประสิทธิภาพนั้น ตำแหน่งที่จะตีบนลูก ควรจะตีตำแหน่งใต้ลูกมากที่สุด โดยจะต้องออกแรงในจังหวะที่ลูกมากระทบหน้าไม้ มุมของหน้าไม้ที่จะกระทบลูกต้องตีลักษณะเสียดสีและเร็วให้มากที่สุด
3. SIDE SPIN หรือ ลูกหมุนด้านข้าง
การหมุนของลูกปิงปองชนิดนี้จะมีความหมุนเหมือนกับการหมุนของการเล่น”ลูกข่าง” ซึ่งความหมุนจะหมุนได้ทั้งด้านซ้ายไปขวา และ ด้านขวาไปซ้าย ความหมุนของลูกชนิดนี้เมื่อมากระทบหน้าไม้ของเรา จะให้ความรู้สึกว่าลูกปิงปองถูกบังคับให้ออกด้านข้างตลอดเวลา ฉะนั้นวิธีการตีความหมุนของลูกชนิดนี้ คือ ต้องตีตรงข้ามกับความหมุนที่มาจึงจะทำให้ตีได้ง่ายขึ้น แต่หากเป็นมือระดับสูงแล้ว สามารถใช้เทคนิกตีลูกตามความหมุนที่มาได้เช่นกัน
4. MIX SPIN หรือ การหมุนแบบผสม
 
การหมุนของลูกปิงปองชนิดนี้ จะขึ้นอยู่กลับมุมของหน้าไม้ที่กระทบลูกในจังหวะที่ตี รวมถึงสามารถเปลี่ยนมุมกระทบในจังหวะที่ตีเพื่อหลอกคู่ต่อสู้ได้อีกด้วย  ซึ่งความหมุนลักษณะนี้จะใช้ในการเสริฟมากที่สุด
5. NO SPIN หรือ ลูกที่ไม่มีความหมุน
ลักษณะของความหมุนชนิดนี้ จะมีความหมุนมาเช่นกัน แต่จะน้อยมาก หรืออาจจะไม่หมุนเลยก็ได้ วิธีตีลูกความหมุนแบบนี้ จะต้องตีบริเวณกลางลูกปิงปอง โดยที่ให้หน้าไม้เสียดสีลูกให้น้อยที่สุด หรือไม่เสียดสีเลยก็ได้
ตำแหน่งบนไม้ปิงปองสำคัญไฉน

จุดสัมผัสบนหน้าปิงปองมีความสำคัญเหมือนกัน
ท่านทราบหรือไม่ว่า…ตำแหน่งเริ่มต้นบนหน้าไม้ปิงปองของเราในการตีลูกความหมุนลักษณะต่างๆ ล้วนแต่มีความหมายทั้งสิ้น…………
ถึงแม้ว่าหน้าไม้ปิงปองจะมีขนาดที่เล็ก แต่จุดต่างๆ บนหน้าไม้ที่มีขนาดเล็กนี้ ล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละจุดเหล่านี้ หากใช้ในการสัมผัสลูกปิงปองให้ถูกต้อง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับลูกปิงปองเมื่อเราตีออกไปเป็นอย่างมาก การให้ความสำคัญกับจุดต่างๆ บนหน้าไม้เหล่านี้ นักกีฬาที่มีฝีมือสูงๆ จะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อเรามีเคล็ดลับที่สำคัญเหล่านี้ เราจึงควรที่จะเริ่มฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ซึ่งการฝึกฝนการตีลูกปิงปองให้ตรงตามตำแหน่งบนหน้าไม้ปิงปองนี้ ไม่สามารถทำได้เพียง 1 วัน หรือ 2 วัน แต่จะต้องปฎิบัติเป็นประจำ อาจจะเป็นเดือน เป็นปี และ ต้องปฏิบัติตลอดไปจนกว่าท่านจะเลิกเล่นปิงปอง
การตีลูกให้ถูกตำแหน่งบนหน้าไม้ปิงปองนี้ ก็เพื่อที่จะให้ลูกปิงปองที่ตีออกไปมีความหมุนมากที่สุด การที่จะให้ลูกปิงปองมีความหมุนมาก จะต้องใช้พื้นที่บนหน้าไม้ปิงปองซึ่งเป็นตำแหน่งที่แรงที่เราได้ออกแรงไป  จะออกจากหน้าไม้ปิงปองบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นในการตีลูกปิงปอง  ลูกปิงปองจะมีความหมุนมากที่สุดตามมา
ต่อไปนี้จะเป็นตำแหน่งเริ่มต้นสำหรับการตีลูกปิงปองบนหน้าไม้ปิงปองที่สำคัญๆ เพื่อตีลูกปิงปองในลักษณะความหมุนชนิดต่างๆ
      
ด้านโฟร์แฮนด์
ตำแหน่งที่ 1 (บริเวณหัวไม้ปิงปอง) สำหรับตีลูก TOP SPIN (ลูกหมุนไปข้างหน้า)
ตำแหน่งที่ 2 สำหรับตีลูก BACK SPIN (ลูกตัด)
ตำแหน่งที่ 3 สำหรับตีลูก SIDE SPIN (ลูกหมุนด้านข้าง)
ตำแหน่งที่ 4 สำหรับตีลูก BOCK , ลูก BASIC เบื้องต้น
ด้านแบ๊คแฮนด์
ตำแหน่งที่ 1 ( บริเวณหัวไม้ปิงปอง) สำหรับตีลูก TOP SPIN (ลูกหมุนไปข้างหน้า)
ตำแหน่งที่ 2 สำหรับตีลูก BACK SPIN (ลูกตัดหรือลูกหมุนถอยหลัง)
ตำแหน่งที่ 3 สำหรับตีลูก SIDE SPIN (ลูกหมุนด้านข้าง)
ตำแหน่งที่ 4 สำหรับตีลูกดีดด้านแบ๊คแฮนด์ในโต๊ะ
ตำแหน่งที่ 5 สำหรับตีลูก BOCK , ลูก BASIC เบื้องต้น
 ลักษณะการสัมผัสของหน้าไม้กับลูกปิงปอง

การทำที่จะทำให้ลูกปิงปองเกิดความหมุน จะต้องให้หน้าไม้ปิงปองสัมผัสถูกลูกปิงปองอย่างไร?

ดังที่ทราบแล้วว่า การเล่นกีฬาปิงปองก็คือ การฝึกตีลูกให้เกิดความหมุน  และ  การฝึกลูกให้พุ่งไปเร็วๆ  ดังนั้น วิธีการสัมผัสของหน้าไม้กับลูกปิงปอง  จะต้องออกแรงสัมผัสถูกลูกปิงปอง ดังนี้

ถ้าต้องการให้ลูกให้พุ่งไปด้วยความเร็ว  ต้องสัมผัสถูกลูกปิงปองในลักษณะเต็มลูกปิงปอง

แต่ถ้าต้องการให้ลูกปิงปองเกิดความหมุน  ต้องสัมผัสถูกลูกปิงปองในลักษณะเสียดสี

สิ่งที่ต้องจดจำในการฝึก

เพื่อที่จะให้นักกีฬาได้มีพัฒนาการในการตีได้รวดเร็วและถูกต้องนั้น นักกีฬาหรือผู้สอนจะต้องจดจำสิ่งสำคัญ 3 สิ่งต่อไปนี้ โดยยึดเป็นหลักในการย้ำเตือนนักกีฬาเพื่อให้นักกีฬาฝึกจนเป็นนิสัยดังนี้
ในการฝึกซ้อมนั้น  เพื่อที่จะให้นักกีฬาได้มีพัฒนาการในการตีได้รวดเร็วและถูกต้องนั้น  นักกีฬาหรือผู้สอนจะต้องจดจำสิ่งสำคัญ 3 สิ่งต่อไปนี้  โดยยึดเป็นหลักในการย้ำเตือนนักกีฬา เพื่อให้นักกีฬาฝึกจนเป็นนิสัยดังนี้
1. รักษาจังหวะ   2. รักษาท่าทาง   3. รักษาหน้าไม้
คำอธิบายเพิ่มเติม
1. การรักษาจังหวะ   
จังหวะในที่นี้  ก็คือจังหวะในการที่ตัดสินใจตีลูกปิงปองนั่นเอง   ซึ่งเราก็ได้ทราบแล้วว่าจังหวะในการตีลูกปิงปองแบ่งออกเป็น 4 จังหวะ คือ
จังหวะที่ A ลูกกำลังลอยขึ้น , จังหวะที่ B ลูกลอยขึ้นสูงสุด  , จํงหวะที่ C ลูกกำลังตกลง , จังหวะที่ D ลูกตกลงต่ำกว่าโต๊ะ
สำหรับผู้เริ่มเล่นใหม่นั้น  เมื่อผู้ฝึกได้กำหนดจังหวะในการตีให้กับนักกีฬาแล้ว หรือนักกีฬาเมื่อทราบว่าจังหวะที่ต้องตีลูกปิงปองคือจังหวะใด  ก็จะต้องตีลูกปิงปองขณะที่กำลังลอยอยู่ในจังหวะนั้นโดยตลอด  ซึ่งก็คือการ รักษาจังหวะในการตี ไว้นั่นเอง
ต่อเมื่อนักกีฬาเมื่อมีความชำนาญในการตีได้ทุกจังหวะแล้ว  จึงจะสามารถที่จะฝึกตีแต่ละจังหวะสลับไปมาได้  และก็เป็นสิ่งสำคัญที่นักกีฬาจะต้องฝึกตีลูกทุกๆ จังหวะสลับไปมาให้ได้อีกด้วย
2. รักษาท่าทาง
เช่นเดียวกับการรักษาจังหวะการตี  การรักษาท่าในการตีปิงปองในแต่ละความหมุนที่เรากำลังฝึกก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  คือ เมื่อความหมุนดังกล่าว จะต้องตีด้วยท่าทางแบบใด  นักกีฬาก็จะต้องรักษาท่าทางในการตีลูกนั้นตลอดไป   อย่าเปลี่ยนแปลงท่าทางการตีอยู่ตลอดเวลา  เพราะจะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนหรือความแม่นยำในการตีลูกปิงปองให้ลงโต๊ะ  รวมถึงจะมีผลเสียต่อตัวนักกีฬาในระยะยาวอีกด้วย
               
3. รักษาหน้าไม้
หน้าไม้ในจังหวะที่เข้าสัมผัสลูกก็เป็นสิ่งที่ต้องจดจำเช่นกัน  ซึ่งในการตีลูกด้วยความหมุนแบบต่างๆ จะมีลักษณะมุมของหน้าไม้เฉพาะอยู่  ดังนั้นการปรับเปลี่ยนหน้าไม้ไปๆ มาๆ จะส่งผลให้การตีเกิดความไม่แน่นอนขึ้น  เช่น  การซ้อมลูกตีลูกด้วยความหมุนแบบ BACK SPIN (ลูกตัด)  หน้าไม้จะต้องเปิด หรือหงายขึ้น  แต่นักกีฬาเดี๋ยวก็เปิด เดี๋ยวก็คว่ำไม้หรือปิดหน้าไม้  ก็จะทำให้ตีลูกดังกล่าวไม่ได้
         
OPEN  เปิดหน้าไม้                              CLOSE  ปิดหน้าไม้
 8 เบสิคพื้นฐานที่ต้องทำให้ได้

มาชมกันดูครับว่า 8 เบสิคพื้นฐานในการเล่นปิงปองที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ มีอะไรบ้าง?

มาชมกันดูครับว่า 8 เบสิคพื้นฐานในการเล่นปิงปองที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ มีลูกอะไรกันบ้าง?

1.  ตีโต้ ด้าน FORE HAND

2. ตีโต้ ด้าน BACK HAND

3. ตีลูกตัด ด้าน FORE HAND

4. ตีลูกตัด ด้าน BACK HAND

5. ตีลูก TOP SPIN ด้าน FORE HAND

6. ตีลูก TOP SPIN ด้าน BACK HAND

7. การบล๊อก ด้าน FORE HAND

8. การบล๊อก ด้าน BACK HAND

ทิศทางการตีลูกปิงปอง

             ทิศทางการตีลูกปิงปองไปยังฝั่งตรงข้าม ตีไปได้กี่ทิศทาง?

ทิศทางที่จะต้องฝึกการตีลูกปิงปองไปยังพื้นที่เล่นของคู่ต่อสู้  สามารถตีได้ 3 ทิศทาง  ซึ่งนักกีฬาจะต้องพยายามฝึกฝนตีให้ได้จนเกิดเป็นความชำนาญ  มีดังนี้

1.  ตีลูกออกด้านหลังของโต๊ะปิงปอง

2.  ต๊ลูกออกด้านข้างของโต๊ะปิงปอง

3. ตีลูกให้กระดอนอยู่ภายในโต๊ะปิงปองฝั่งตรงข้าม โดยพยายามให้ลูกกระดอนอยู่ภายในโต๊ะให้ได้ 2 ครั้งขึ้นไป (หรือที่เรียกว่าลูกสั้น)

ความสูงในการตีลูกปิงปองข้ามเน็ต

             ลูกปิงปองที่ตีจากหน้าไม้ออกไป ควรตีให้สูงเท่าไหร่?

ในการแข่งขันระดับสูงในเกมส์การแข่งขันในปัจจุบันนี้  หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตีลูกสูงพ้นเน็ตมากจะถูกบุกเพื่อทำคะแนนทันที

ดังนัั้นนักกีฬาจะต้องมีเป้าหมายในการพยายามตีลูกให้ใกล้กับขอบเน็ตให้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้คู่ต่อสู้บุกโจมตีได้ยากขึ้น และการที่นักกีฬาจะเกิดความชำนาญในการตีลูกเลียดเน็ตได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นจะการฝึกที่เป็นนิสัยในขณะฝึกซ้อม ไม่ว่าจะเป็นทั้งการฝึกซ้อมเบสิคต่างๆ จนถึงการฝึกซ้อมด้านเทคนิคต่างๆ ที่นำไปใช้ในการแข่งขัน  และต้องให้ความสำคัญกับการตีลูกเลียดเน็ตให้มากที่สุดด้วย

แต่ในบางกรณี เช่น กรณีที่ต้องออกไปเป็นฝ่ายรับนอกโต๊ะ เช่น การโยนลูกให้คู่ต่อสู่ตบ  มีความจำเป็นต้องโยนลูกให้เป็นลูกโด่งให้มากที่สุด เพราะจะทำให้คู่ต่อสู่ตบใส่ได้ลำบากกว่า

ฝึกเบสิค กับ การฝึกเกมส์การแข่งขัน

             ข้อแตกต่างระหว่างการฝึกเบสิค กับ ฝึกเกมส์การแข่งขัน

การฝึกเบสิค คือ การฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญในทุกๆ ด้าน  ซึ่งการจะให้เกิดความชำนาญนั้น ก็จำเป็นต้องฝึกซ้อมตามแบบฝึกต่างๆ อย่างเป็นประจำและต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอนไป  และการจะประเมินผลว่าแบบฝึกแต่ละเบสิคใดผ่านการประเมินหรือไม่  จึงจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดในการประเมินผลความสำเร็จของการฝึกซ้อมด้านเบสิค ซึ่งมีดังนี้

1.  ตัวชี้วัด  ด้านปริมาณ  คือ การกำหนดเป็นจำนวนครั้งที่จะต้องตีให้ได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยจะต้องตีให้ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสีย

2.  ตัวชี้วัด  ด้วยเวลาในการฝึก  คือ การกำหนดเป็นเวลา(นาที) ในการฝึกในแต่ละแบบฝึก

จะเห็นได้ว่า การฝึกเบสิค คือ การฝึกที่ก่อให้เกิดเป็นความชำนาญ  พยายามตีลูกให้ได้อย่างต่อเนื่อง และตีเสียลูกได้ยาก แต่เมื่อเรานำไปใช้ในเกมส์การแข่งขันแล้ว นักกีฬาจะต้องตีลูกออกไปให้ได้คะแนนจากคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็วที่สุด นั่นคือ การเน้นที่ประสิทธิภาพของลูกที่ตีออกไปนั่นเอง

ดังนั้น  การฝึกซ้อมเบสิค คือ การฝึกให้ครบถ้วน  และตีต่อเนื่องให้ได้นานที่สุด 

แต่ในเกมส์แข่งขัน คือ การตีอย่างมีประสิทธิภาพ และได้คะแนนโดยเร็วที่สุด

ฝึกสายตา ฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจ

             ฝึกกีฬาปิงปองเกี่ยวข้องอะไรกับสายตา สมาธิ และ จิตใจ

ไหนๆ การจะเล่นปิงปองให้เก่งขึ้น ก็ต้องเริ่มด้วยการฝึกเบสิคทักษะพื้นฐานต่างๆ กันอยู่แล้ว  จะดีไหมถ้าเราฝึกสายตา ฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจ ควบคู่พร้อมกันไปด้วย

เนื่องจากกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่เร็วมาก  เร็วไม่พอยังต้องรู้ด้วยว่าลูกมันหมุนมาหาเราแบบใด  แถมยังเป็นกีฬาที่ต้องแข่งขันกับคู่ต่อสู้อีก แล้วเราจะฝึกอย่างไรดี

1. ฝึกสายตา  

เนื่องจากกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่เร็ว  ลูกที่วิ่งมาหาเราใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที  ดังนั้นตาของเรามีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

1.1  จ้องมองลูก  เริ่มตั้งแต่ออกจากหน้าไม้ฝั่งตรงข้ามจนมาถึงหน้าไม้เรา

1.2  จ้องมองทิศทางของหน้าไม้คู่ต่อสู้  โดยเฉพาะจังหวะที่หน้าไม้สัมผัสถูกลูก  เพื่อดูได้ออกว่า ลูกหมุนมาหาเรามีลักษณะความหมุนอย่างไร โดยเฉพาะลูกเสริฟของคู่ต่อสู้

1.3  จ้องมองตำแหน่งการยืนของคู่ต่อสู้  เพื่อที่จะวางแผนการเล่น และ ทิศทางในการโจมตีใส่คู่ต่อสู้

         

2. ฝึกสมาธิ  

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต  ทำให้จิตมีความแน่วแน่ต่อการเล่นปิงปอง ไม่ว่าจะทั้งในขณะทำการฝึกซ้อม และ ในขณะแข่งขัน  รวมทั้งคอยบังคับไม่ฟุ้งซ่านหรือแว่วไปคิดเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการฝึกซ้อมและในขณะแข่งขัน ( ฝึกเฉพาะในขณะเล่นปิงปองเท่านั้นก็พอนะครับ )  

วิธีการฝึกสมาธิแบบง่ายในการฝึกปิงปองก็คือ การกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนครั้งที่จะต้องตีให้ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสีย หรือ การกำหนดเป้าหมายเป็นทิศทางในการตีลูกปิงปองไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยไม่เสีย  และ ตัวชี้วัดก็คือ หู ของผู้เล่นเอง  ที่จะต้องฝึกให้ได้ยินเสียงของลูกปิงปองกระทบหน้าไม้ และ กระทบถูกโต๊ะปิงปองด้วย เช่นกัน

3. ฝึกจิตใจ  

การฝึกด้านจิตใจ ก็คือ การฝึกให้จิตใจมีความเป็นนักสู้  ฝึกให้มีความเข้มแข็ง  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง  ฝึกให้พยายามทำทุกอย่างด้วยตนเอง  ทำให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ทั้งในขณะที่ทำการฝึกซ้อมที่จะต้องตั้งใจฝึกซ้อมในทุกๆ แบบฝึก   ยิ่งโดยเฉพาะในขณะแข่งขันด้วยแล้ว นักกีฬาจะต้องมีความมุ่งมั่นให้ได้มาในทุกคะแนนที่เล่น  อย่าตีทิ้งตีขว้าง  เมื่อบุกก็ต้องบุกให้เด็ดขาด เมื่อเป็นฝ่ายรับก็ต้องเหนียวแน่นและพร้อมที่จะบุกกลับทันทีที่มีโอกาส  และหากเมื่อใดที่ยังทำคะแนนไม่จบเกมส์ ห้ามประมาทคู่ต่อสู้แม้แต่เพียงครั้งเดียว

เมื่อรู้ตัวว่าฝีมือเป็นรอง  พยายามทำคะแนนให้ได้มากที่สุด

เมื่อรู้ตัวว่าฝีมือเป็นต่อ  พยายามเอาชนะคู่ต่อสู้ให้ขาด

         

ตาราง 9 ช่อง บนโต๊ะปิงปอง

             จะดีไหม? หากจะฝึกความแม่นยำด้วยการแบ่งโต๊ะปิงปองออกเป็น 9 ช่อง

ความแม่นยำคือหัวใจสำคัญของการเล่นปิงปอง ดังนั้นการจะฝึกให้นักกีฬาตีได้แม่นยำนั้น ควรจะกำหนดจุดตกบนโต๊ะปิงปองในการฝึกซ้อมให้กับนักกีฬาด้วย  ซึ่งตัวอย่างดังรูปข้างบนนี้  เป็นการแบ่งโต๊ะปิงปองออกเป็น 9 ช่อง เพื่อเป็นจุดกำหนดให้นักกีฬาฝึกตีลูกไปยังเป้าหมายได้ทุกจุดบนโต๊ะปิงปอง

ยกตัวอย่างการฝึกตีลูก TOP SPIN

กำหนดนักกีฬาตีลูก TOP SPIN ไปยังช่อง 1 / 1 ครั้ง , และ ช่อง 3 / 1 ครั้ง  ,  ผู้บล๊อก ก็สามารถฝึกบล๊อกด้วยแบ๊คแฮนด์ และ โฟร์แฮนด์ พร้อมกันไปในตัว

ประสิทธิภาพในการเล่นปิงปอง

             ประสิทธิภาพของการฝึกกีฬาปิงปอง ประกอบด้วยประสิทธิภาพด้านใดบ้าง?

 

ขอบคุณที่มาครับ    http://www.welovepingpong.com/default.asp?content=contentdetail&id=13477

Posted in เทคนิกการตีลูกต่างๆ, Uncategorized | Leave a comment

ประวัติปิงปอง


 
กีฬาปิงปอง เป็นกีฬาสันทนาการอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานในหมู่คณะ ขณะเดียวกันก็เป็นกีฬาที่มีความท้าทายที่ผู้เล่นต้องต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายในการรับ-ส่งลูก ซึ่งความท้าทายนี้จึงทำให้กีฬาปิงปองได้รับความนิยมในระดับสากล กระทั่งถูกบรรจุในการแข่งขันระดับโลก ด้วยความน่าสนใจของกีฬาปิงปองนี้ ดังนั้นทางกระปุกดอทคอมจึงได้นำข้อมูลของกีฬาปิงปองมาฝากค่ะ

ประวัติกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส

กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เล่นปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง “ปิก-ป๊อก”  ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน

ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP  หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบนยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน”

ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ.  2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND)  และ หลังมือ  (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465)  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ขึ้น เป็นครั้งแรก

จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับวิธีการเล่นโดยเน้นไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย  ทำให้จึงกีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

ในเรื่องเทคนิคของการเล่นนั้น ยุโรปรุกด้วยความแม่นยำ และมีช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ญี่ปุ่นสามารถชนะการเล่นของยุโรปได้  แม้ในช่วงแรกหลายประเทศจะมองว่าวิธีการเล่นของญี่ปุ่น เป็นการเล่นที่ค่อนข้างเสี่ยง แต่ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในการแข่งขันติดต่อกันได้หลายปี เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของยุโรปเลยทีเดียว

ในที่สุดสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ด้วยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน  ซึ่งจีนได้ศึกษาการเล่นของญี่ปุ่น ก่อนนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเล่นแบบที่จีนถนัด กระทั่งกลายเป็นวิธีการเล่นของจีนที่เราเห็นในปัจจุบัน

หลังจากนั้นยุโรปได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง และในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป และผู้เล่นชาวเอเชีย แต่นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงแล้ว ขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเก่งขึ้น  ทำให้ยุโรปสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ

จากนั้นในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้กับชาวยุโรป  โดยในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรป และนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับ และลาตินอเมริกา  ก็เริ่มก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น และมีการแปลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิค ทำให้การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหายไปตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)  เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง

จากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  และมีการปรับปรุงหน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ที่มีความยาวของเม็ดยางมากกว่าปกติ โดยการใช้ยางที่สามารถเปลี่ยนวิถีการหมุน และทิศทางของลูกเข้าได้ จึงนับได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ และมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา กระทั่งกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

สำหรับประวัติกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสในประเทศไทยนั้น ทราบเพียงว่า คนไทยรู้จักคุ้นเคย และเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านาน แต่รู้จักกันในชื่อว่า กีฬาปิงปอง โดยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า มีการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี  โดยในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งมีการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การเล่นกีฬาปิงปอง หรือเทเบิลเทนนิส

กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้

ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้

 1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด

 2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย

 3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

 4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น

 5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน

 6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

 7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

 8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่

 9. เท้า :  หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

Posted in ประวัติปิงปอง | Leave a comment